แว่นใสขอแจ้งข่าว! เพิกถอนยาที่มีพาราฯเป็นส่วนผสม

เพิกถอนพารา_1040

 

          ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาคงเห็นข่าวกันมาบ้างแล้วว่า… มีประกาศคำสั่งจากกระทรวงสาธารณสุข เรื่องเพิกถอนยาที่มี “พาราเซตามอล” เป็นส่วนประกอบไปทั้งสิ้น 25 ตำรับด้วยกัน เนื่องจากมีการใช้ยาซ้ำซ้อน ซึ่งส่งผลร้ายต่อตับ และร่างกายของผู้บริโภค แต่!! ไม่ต้องตกใจไปว่ายาพาราเซตามอลจะเป็นอันตรายต่อร่างกายนะหากใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม แว่นใสจึงขอมาแจ้งให้ทราบกันอย่างถ้วนหน้าเพื่อให้การกินยามีประสิทธิภาพ ไม่กินซ้ำซ้อน และรู้ว่ายาตัวไหนบ้างที่ถูกเพิกถอนไป

 

พารากินเยอะ เสี่ยงตับพัง

         “พาราเซตามอล” หรือ อะเซตามิโนเฟน ยาประจำบ้านที่ทุกบ้านต้องมี และหาซื้อได้ง่าย ปวดนิดปวดหน่อย เป็นไข้ต้องพึ่งพาราฯกันแล้ว ซึ่งข้อดีของพาราฯนั้นคือ กินแล้วไม่ระคายเคืองกระเพาะ แต่! หารู้ไม่ว่ากินพาราฯพร่ำเพรื่อ หรือกินเกินขนาดส่งผลร้ายมากกว่าที่คิดเลยแหละ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคตับจะยิ่งไปเพิ่มโอกาสให้เกิดภาวะตับเป็นพิษ และอาการตับวายเฉียบพลัน และรวมถึงผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคตับแต่กินพาราฯบ่อยเกินไป กินซ้ำซ้อนอาจทำให้มีปัญหาดื้อยา ยาเป็นพิษต่อตับจนถึงขั้นเสี่ยงตับพัง และเกิดภาวะตับอักเสบด้วย 

           การทานยาให้เหมาะสมกับอาการเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นการทานยาพร่ำเพรื่อ คือ ทานตามน้ำหนักตัวของผู้ป่วย คือ ทุก 50 กก. ทาน 1 เม็ด ถ้าอย่างคนที่น้ำหนัก 75 กก.ให้ทาน 1 เม็ดครึ่ง เป็นต้น และไม่ควรทานเกิน 4,000 มก. หรือ 8 เม็ด/วัน ซึ่งยาพาราเซตามอลส่วนใหญ่รวมถึงยาอื่นๆที่มีส่วนผสมของพาราฯด้วยนั้นจะมีขนาด 500 มก. อยู่แล้ว ฉะนั้นก่อนทานยาที่ไม่ใช่พาราเซตามอลควรดูฉลากก่อนว่ามีส่วนผสมของพาราหรือไม่ ถ้ามีเราไม่ควรซื้อพาราฯมากินเพิ่มอีกเพื่อความปลอดภัยของร่างกายเราเองจะได้ไม่เป็นการทานยาพร่ำเพรื่อ และเสี่ยงต่อตับอักเสบภายหลัง

 

โบกมือลายา 25 ตำรับ  

           ตำรับยาที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบ ชนิดรับประทานนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ผู้ผลิต และนำเข้ายาแก้ไขฉลาก และเอกสารกำกับยาเรื่องขนาดการรับประทานยาเพื่อให้ผู้บริโภครู้ว่ายาชนิดนี้มีพาราฯอยู่แล้ว ไม่ต้องซื้อยาพาราฯมากินเพิ่มอีกเพื่อไม่ให้เป็นการกินยาซ้ำซ้อนเกินไป ซึ่งสามารถส่งผลร้ายต่อตับได้โดยตรง แต่ผู้ผลิตไม่ได้ทำการแก้ไขจึงได้ถูกเพิกถอนทะเบียนตำรับยาทั้ง 25 ตำรับด้วยกัน คือ

  1. V - COLDTAC

  2. SALICAP

  3. V - COLDTAC

  4. ORPHENTA

  5. PARADROP

  6. PHENACOLD

  7. PONY SYRUP

  8. PARANIC TABLETS

  9. MICOLD

  10. REDDY TABLET

  11. UPCOPAN

  12. CETAMOL

  13. CODAMOL TABLETS (WHITE)

  14. CODAMOL TABLETS

  15. PARACETAMOL 325 MG. TABLETS

  16. PARACETAMOL 325 MG TABLETS (WHITE)

  17. PARACETAMOL 500 MG TABLETS (GREEN)

  18. PARITER

  19. CODAMOL

  20. DAY TEMP PARACETAMOL 500

  21. DAY TEMP PARACETAMOL 500

  22. FARMARS(R) PARACETAMOL 500

  23. CODARIN - A

  24. CODATAB

  25. KALA - SYRUP DROPS

          แว่นใสมาแจ้งข่าวครั้งนี้ก็พอจะรู้กันบ้างแล้วนะว่ายาตัวไหนที่ถูกถอนทะเบียนยาออกไป และยาพาราเซตามอลควรทานขนาดเท่าไหร่เพื่อไม่ให้ส่งผลลบต่อร่างกาย และไม่ควรทานยาที่มีส่วนผสมของพาราเซตามอลแล้วทานยาพาราเพิ่มเข้าไปอีก ซึ่งเป็นการทานยาที่พร่ำเพรื่อเกินไป แถมเป็นการทานยาเกินขนาดที่อาการของโรคต้องการอีกด้วยนะ

   ต่อไปนี้ก่อนทานยาให้อ่านฉลากก่อนและระวังเรื่องทานยาให้มากขึ้นนะคะ

ด้วยความเป็นห่วงจากแว่นใสเองค่ะ 

   

☘️ มุมสาระน่ารู้ TardHealth info

ความรู้เพื่อสุขภาพ รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์ By TaradHealth

ข้อมูลเพิ่มเติม»

เรื่องที่คุณอาจสนใจ