เรื่องเก๊าท์ๆ

เรื่องเก๊าท์ๆ
เรื่องเก๊าท์ๆ

โรคเก๊าท์ เป็นโรคที่เกี่ยวกับกระดูกและการอักเสบของข้อเกิดจากการที่ร่างกายมีกรดยูริคในกระแสเลือดตกค้างเป็นระยะเวลานานจนทำให้กรดยูริคนั้นตกตะกอนและจับตัวอยู่ตามข้อของร่างกายทำให้ข้อหรือเนื้อเยื่อโดยรอบข้ออักเสบเฉียบพลันส่งผลให้มีอาการปวด บวม แดงบริเวณข้อโดยโรคเก๊าท์สามารถพบได้บ่อยในเพศชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปและเพศหญิงวัยหมดประจำเดือนวันนี้เราจะพาคุณมารู้จักกับโรคเก๊าท์ และวิธีดูแลตัวเองให้หายขาดและห่างไกลจากโรคเก๊าท์สาเหตุของโรคเก๊าท์โรคเกาต์เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูงเป็นเวลานาน จนเกิดการตกผลึกตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น ข้อ ไตกรดยูริกเกิดได้จากการที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นมาและจากอาหารที่รับประทานเข้าไปโดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีนบางชนิดที่มีสารพิวรีนสูง เช่นสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ และอาหารทะเล ซึ่งในกระบวกการย่อยสลายโปรตีนและไดสารพิวรีนออกมาซึ่งกรดยูริกในร่างกายจะเกิดจากกระบวนการนี้ร่างกายจะมีการขับกรดยูริกออก 2 ทาง คือขับออกทางระบบทางเดินอาหาร ประมาณ 1 ใน 3ขับออกทางไตประมาณ 2 ใน 3ของปริมาณกรดยูริกที่ร่างกายสร้างได้ในแต่ละวัน

สาเหตุที่ทำให้กรดยูริกในเลือดสูง

  • เกิดจากร่างกายมีการสร้างกรดยูริกมากกว่าปริมาณที่ขับออกนั่นเอง ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคเก๊าท์หรือสาเหตุที่ทำให้โรคเก๊าท์กับมาเป็นซ้ำอาจเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมหากมีพ่อแม่ญาติพี่น้องที่เป็นโรคเก๊าซ์บุคคลนั้นจะมีอัตราการเกิดโรคเก๊าท์มากกว่าคนทั่วไป

  • เกิดจากโรคบางชนิดที่ทำให้ร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูงเช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคเลือด โรคทาลัสซีเมียโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงรวมไปถึงการใช้ยารักษามะเร็งหรือฉายรังสี

  • เกิดจากการทำงานของไตที่ผิดปกติทำให้ไตขับกรดยูริกได้น้อยลง เช่น เป็นโรคไต

  • เกิดจากโรคต่อมไร้ท่อบางชนิด เช่น ไฮโปไทรอยด์ทำให้มีกรดยูริกในเลือดสูง

  • เกิดจากเพศเนื่องจากพบโรคนี้ได้ในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

  • การดื่มแอลกอฮอล์เพราะทำให้ไตขับกรดยูริกออกจากร่างกายได้น้อยลงส่งผลให้ร่ายกายมีกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น

การรับประทานอาหารประเภทโปรตีนบางชนิดที่ให้สารพิวรีนสูงอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เช่น สัตว์ปีก เนื้อแดงเครื่องในสัตว์ อาหารทะเล
การรับประทานยอดผัก เช่น กระถิน ผักบุ้ง สะเดา การเครื่องดื่มหรืออาหารที่หมักด้วยยีสต์ เบียร์ ขนมปัง เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้มีกรดยูริกในเลือดสูงจากการใช้ยาบางชนิด อาจกระตุ้นให้อาการกำเริบได เพราะยาบางชนิดมีผลทำให้ไตขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะได้น้อยลง เช่น แอสไพริน (Aspirin),ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ (Hydrochlorothiazide –HCTZ), ไซโคลสปอริน (Cyclosporin), เลโวโดปา(Levodopa) เป็นต้น

อาการโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์จะมีอาการปวด บวม แดงร้อนบริเวณข้อที่เป็นอย่างฉับพลันโดยส่วนใหญ่มักเริ่มจากข้อนิ้วหัวแม่เท้าแต่ทั้งนี้ก็สามารถเกิดกับข้ออื่นๆ ได้ เช่น ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือซึ่งจะเป็นๆ หายๆ ในระยะแรกหากไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลอย่างถูกต้องอาการอักเสบจะรุนแรงมากขึ้น ทำให้ปวดถี่ขึ้นและนานขึ้นจนอาจกลายเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังและอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น โรคไตนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และไตวาย

การรักษาโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาเป็นหลักซึ่งในการเลือกใช้ยารักษาจะดูจากปัจจัยหลายอย่างเพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลรวมไปถึงการพูดคุยกับที่เป็นโรคเก๊าท์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในบางรายที่ปล่อยให้โรคดำเนินไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้รับการรักษา แพทย์อาจต้องทำการการผ่าตัดแทนการใช้ยาซึ่งเป้าหมายคือช่วยให้อาการปวดลดน้อยลงอย่างรวดเร็วและป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดของโรคเก๊าท์ในบริเวณข้ออื่นๆ เพิ่มขึ้น รวมไปถึงลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากโรคเช่น โครงสร้างข้อต่อผิดรูป ไตเกิดความผิดปกติการป้องกันและดูแลตัวเองของผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์

  1. ไม่รับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน

  2. พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

  3.  หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์อาหารทะเลบางชนิด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเน้นรับประทานโปรตีนจากผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ

  4. ควบคุมน้ำหนัก แต่ไม่ควรลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเพราะอาจทำให้ระดับกรดยูริกเพิ่มสูงขึ้น

  5. ดื่มน้ำให้มากเพื่อขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะหากมีอาการปวดให้หยุดพักการใช้ข้อที่ปวดแล้วประคบเย็นจะช่วยให้การปวดลดลงได้

☘️ มุมสาระน่ารู้ TardHealth info

ความรู้เพื่อสุขภาพ รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์ By TaradHealth

ข้อมูลเพิ่มเติม»

เรื่องที่คุณอาจสนใจ