10 เมนู กระตุ้นระบบขับถ่าย

ใครที่ขับถ่ายยาก ถ่ายไม่ออก หรือท้องผูกเป็นประจำคงต้องหาตัวช่วยเพื่อกระตุ้นลำไส้กันสักหน่อยเพื่อให้ถ่ายง่าย ถ่ายคล่องขึ้นกัน 1. ส้มตำ        ในส้มตำมีผลไม้แก้ท้องผูก อย่างมะละกอ แถมยังมีผักชนิดอื่น ๆ เช่น มะเขือเทศ และถั่วฝักยาวอยู่อีกต่างหาก เรื่องปริมาณไฟเบอร์ก็ไว้ใจเมนูนี้ได้เลย แต่จริงๆแล้วลำพังแค่มีมะละกอก็ช่วยแก้อาการท้องผูกได้อย่างมาก เพราะมะละกอมีน้ำย่อยธรรมชาติในตัวเอง สามารถกำจัดคราบโปรตีนเก่าๆที่ย่อยไม่หมดจนขัดขวางการขับถ่ายของลำไส้ออกไปได้ คราวนี้ของเสียก็จะถูกลำเลียงอย่างคล่องปรู๊ดแล้วนั่นเอง 2. แกงส้มชะอมกุ้ง         ผักชะอมทำเมนูอะไรก็อร่อยไปหมดนะ แถมชะอมยังเป็นผักพื้นบ้านที่มีไฟเบอร์ทั้งชนิดละลายน้ำ และไม่ละลายน้ำ ซึ่งดีต่อการทำงานของลำไส้ เนื่องจากไฟเบอร์ในชะอมจะช่วยทำความสะอาดลำไส้ของเรา การขับถ่ายของเสียจึงเป็นไปอย่างคล่องตัวมากขึ้นนั่นเอง 3. แกงเหลืองมะละกอกุ้ง        อีกหนึ่งเมนูมะละกอสำหรับคนชอบรสจัดจ้านที่นอกจากจะมีมะละกอเป็นตัวช่วยปลุกระบบขับถ่ายให้ทำงานด้วยความคล่องแคล่วแล้ว ในเมนูแกงเหลืองยังมีส่วนผสมของน้ำมะขามเปียกอีกด้วย เรียกได้ว่าผสานพลังความมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ กันอย่างจัดเต็มเลยทีเดียว 4. ยำ/ตำผลไม้         ถ้าจะให้ดีแนะนำให้เป็นตำหรือยำผลไม้ที่มีสับปะรด มะเฟือง แอปเปิ้ลเขียว แก้วมังกร และกีวีรวมอยู่ด้วยกัน เพราะผลไม้เหล่านี้ล้วนเป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณแก้ท้องผูกทั้งนั้นเลยนะ 5. แกงขี้เหล็ก […]

ทำไมแคลเซียมคาบอร์เนตทำให้ท้องผูก

  แคลเซียมคาร์บอร์เนต เป็นสารที่เกิดจากหินปูนภูเขาไฟการตกตะกอนของหินในทะเล เปลือกหอย ปะการังกระดูกสัตว์จนกลายมาเป็นหินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนต มนุษย์นำแคลเซียมคาบอร์เนตมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน เช่น ในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ รวมไปถึงด้านเภสัชกรรม ซึ่งในด้านเภสัชกรรมมีความสำคัญอย่างไร วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกันค่ะ     แคลเซียมคาบอร์เนตทำให้ท้องผูกได้อย่างไร ?       ในด้านเภสัชกรรมได้มีการนำแคลเซียมคาร์บอร์เนตมาเป็นส่วนผสมหลักในยาหลากหลายประเภทแต่ที่พบมาที่สุดในตลาดยาบ้านเราคือ ยาบำรุง และเสริมสร้างกระดูก ซึ่งเป็นยาสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและมีความต้องการที่จะเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกในร่างกาย แต่เราทราบหรือไม่ว่าแคลเซียมเม็ดต่างๆ ที่เราหาซื้อมารับประทานโดยทั่วไปนั้นจะอยู่ในรูปของแคลเซียมคาร์บอร์เนต แคลเซียมชนิดนี้มีปริมาณแคลเซียมอยู่ประมาณ 40% แต่อัตราการดูดซึมของร่างกายค่อนข้างต่ำ จึงทำให้ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ทั้งหมด และในการย่อยเพื่อดูดซึมนั้นยังต้องการภาวะความเป็นกรดในกระเพาะอาหารเพื่อให้แคลเซียมคาร์บอร์เนตแตกตัวจึงจะสามารถดูดซึมได้ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเรารับประทานเข้าไปแล้วร่างกายก็ยังคงดูดซึมได้น้อยหรือดูดซึมได้ไม่หมดอยู่ดี จึงเหลือตกค้างอยู่ในสำไส้        เมื่อเราทานแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นระยะเวลานานก็ทำให้แคลเซียมที่ไม่ถูกดูดซึมตกค้างเพิ่มมากขึ้นจึงไปขัดขวางการทำงานของระบบขับถ่าย ทำให้เรารู้สึกแน่นท้องท้องอืด และการทานแคลเซียมคาร์บอร์เนตคู่กับผักและผลไม้จะทำให้แคลเซียมคาร์บอร์เนตไปจับตัวรวมกับกากใยของผักและผลไม้ทำให้เป็นก้อนแข็งขัดขวางการทำงานของระบบขับถ่ายทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ในที่สุด        การเลือกรับประทานแคลเซียมในรูปแบบของอาหารเสริมก็ยังคงเป็นทางเลือกแรกๆ สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก หรือต้องการทานแคลเซียมเพื่อเป็นตัวช่วยในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกในร่างกาย ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาท้องผูกจากการทานแคลเซียมในรูปแบบอาหารเสริม จึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมโดยตรง เช่น นมวัว นมถั่วเหลือง ปลาตัวเล็ก งาขาว งาดำ ฯลฯ จะดีที่สุด     […]