ภัยร้ายที่แฝงมาในชีวิตมนุษย์ออฟฟิศ

"โรคนั่งนานเกินไป'' ภัยร้ายที่แฝงมาในชีวิตมนุษย์ออฟฟิศ

"โรคนั่งนานเกินไป" คือการนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานโดยไม่ได้ออกไปไหน หรือนั่งติดต่อกันนานเกิน 12 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้ร่างกายของเรามีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาด้านสุขภาพหลายประการ และทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการพิการมากถึง 50%

 ที่นี้เราเราไปดูกันว่าโรคอะไรบ้างที่แฝงมากับการนั่งทำงานนานๆของคุณ

1. ปัญหาด้านการไหลเวียนของเลือด

การนั่งนาน ๆ นั้นจะทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนออกจากขาขึ้นมาสู่หัวใจได้ ทำให้เส้นเลือดดำในขาและเท้ามีความดันโลหิตสูงตลอดเวลา และเมื่อผนังของเส้นเลือดดำได้รับแรงดันสูงตลอดเวลา โปรตีนและของเหลวบางชนิดอาจรั่วไหลไปยังเนื้อเยื่อจนส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ นอกจากนี้จากการไหลเวียนของเลือดที่ขาลดลง ยังสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการอุดตันของเส้นเลือดได้อีกด้วย เช่น โรคหลอดเลือดดำอุดตัน (DVT) เป็นต้น

2. น้ำตาลในเลือดสูง

การนั่งนานเกินไปโดยไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานาน อาจทำให้เราเกิดการต่อต้านอินซูลินได้ และนำเราไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ จะสามารถช่วยเพิ่มระดับการทำงานของอินซูลินที่กระทำต่อกลูโคส และช่วยระบบกล้ามเนื้อได้

3. ท้องผูก

การที่เราไม่เคลื่อนไหวเป็นเวลานานนั้นจะทำให้เราเกิดอาการท้องผูกได้ เพราะเมื่อเรานั่งนาน ๆ จะส่งผลให้การบีบหดตัวของลำไส้ลดลง เป็นผลให้อุจจาระแห้งแข็งและถ่ายออกได้ยาก และอาการนี้จะเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหากมีการนั่งอยู่กับที่นาน ๆ อย่างไรก็ตาม เราสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการออกกำลังกายเบา ๆ สัก 10 นาทีต่อวัน

4. หัวเข่าเสื่อม

การนั่งนานเกินไปนั้นยังมีส่วนเชื่อมโยงสู่อาการหัวเข่าเสื่อมเช่นกัน เพราะการไม่ได้เคลื่อนที่เป็นเวลานานนั้นได้นำไปสู่โรคอ้วน และมวลของร่างกายที่เพิ่มขึ้นก็ส่งผลให้เกิดความดันที่ข้อต่อมากขึ้น นอกจากนี้การไม่ได้ใช้งานกล้ามเนื้อเป็นระยะเวลานานยังอาจนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงอีกด้วย

5. ปวดศีรษะ

การที่เรานั่งทำงานอยู่ที่โต๊ะทำงานเป็นเวลานาน จะทำให้ศีรษะ คอ หลัง และไหล่ของเราเกิดการงอตัวเป็นรูปตัว C ซึ่งจะทำให้เราเกิดอาการปวดศีรษะได้ นอกจากนี้ การงอตัวนี้ยังส่งผลกระทบต่อไหล ทำให้มีอาการปวดไหล่ ไหล่แข็ง หรือเคลื่อนไหวได้น้อยลงอีกด้วย

 

☘️ มุมสาระน่ารู้ TardHealth info

ความรู้เพื่อสุขภาพ รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์ By TaradHealth

ข้อมูลเพิ่มเติม»

เรื่องที่คุณอาจสนใจ