โรคกระดูกพรุน ทำกระดูกหักซ้ำซ้อนในผู้สูงอายุ

โรคกระดูกพรุน ทำกระดูกหักซ้ำซ้อนในผู้สูงอายุ

สังคมผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้สูง พบในเพศหญิงร้อยละ 33 และเพศชายร้อยละ 20 ซึ่งโรคนี้เป็นภัยเงียบ เนื่องจากผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่จะรู้เมื่อกระดูกหัก  โรคกระดูกพรุนเกิดจากมวลกระดูกที่ลดลง และโครงสร้างกระดูกเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ความแข็งแกร่งน้อยลง เมื่อถูกแรงกระแทกเพียงเล็กน้อยอาจทำให้กระดูกหักได้ง่ายขึ้น

โรคกระดูกพรุนจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถทำให้กระดูกหักได้ ซึ่งเกิดได้ทั้งข้อมือ หลัง และสะโพก แต่กระดูกสะโพกหักจะทำให้เกิดอันตรายและมีอัตราการตายสูง สามารถป้องกันได้โดยการออกกำลังกาย เดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ เพื่อรับแสงแดดอ่อนๆ ในช่วงเช้า และกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม กุ้งแห้ง ปลาตัวเล็กที่กินได้ทั้งตัว ถั่วต่างๆ เต้าหู้ งาดำ ผักใบเขียว ได้แก่ ผักโขม คะน้า ชะพลู ใบยอ ลดอาหารที่มีไขมันสูง เนื่องจากไขมันจะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ นอกจากนี้ควรปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม มีแสงสว่างเพียงพอเพื่อป้องกันการลื่นล้ม และการเกิดอุบัติเหตุ

 

☘️ มุมสาระน่ารู้ TardHealth info

ความรู้เพื่อสุขภาพ รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์ By TaradHealth

ข้อมูลเพิ่มเติม»