หวาน – เค็ม แค่ไหน? ไม่เป็นโรค

หวาน – เค็ม แค่ไหน? ไม่เป็นโรค

น้ำตาล เป็นสารให้ความหวานในอาหารเป็นหนึ่งในสารที่สำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์อีกหนึ่งชนิดไม่ว่าจะในกระบวน การเผาผลาญหรือกระบวนการขับของเสีย ล้วนต้องอาศัยพลังงานจากน้ำตาลแทบทั้งสิ้นแต่หากบริโภคน้ำตาลมากเกินไป  ร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลส่วนเกินเป็น “ไขมันสะสม” ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดโรคอ้วนและนำไปสู่โรค ไม่ติดต่อเรื้อรังในที่สุด

  • โดยการบริโภคหวานให้ปลอดภัยไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน (1 ช้อนชา = 4 กรัม ) ซึ่งในชีวิตประจำวันจริง ๆ เราอาจจำกัดการบริโภคน้ำตาลให้เหลือเพียงวันละ 6 ช้อนชาได้ค่อนข้างลำบาก แต่อย่างน้อยที่สุดก็ควรปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่างเพื่อลดและเลี่ยงปริมาณน้ำตาลที่ได้รับ ต่อวัน เช่น ดื่มเครื่องดื่มหวานน้อย หรือดื่มน้ำเปล่า และควรชิมก่อนปรุงทุกครั้ง เป็นต้น

ด้าน รสเค็ม ร่างกายของทุกคนมีอวัยวะที่ทำงานกับความเค็มโดยตรงคือ ไต โดยมีหน้าที่ช่วยปรับโซเดียม ในร่างกายให้สมดุล ถ้าโซเดียมในร่างกายมากเกินไป ไตก็จะสั่งการให้ขับออกทางปัสสาวะ แต่ถ้าน้อยเกินไป ไตก็จะดูดโซเดียมกลับไปสู่กระแสเลือดได้ ดังนั้น เมื่อไตทำงานผิดปกติก็จะไม่สามารถขับเกลือออกจากเลือดได้ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ทำงานหนักขึ้น ความดันเลือดสูง เมื่อหัวใจทำงานหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ จะมีผลให้เกิดหัวใจวายได้

  • การบริโภคเกลือไม่ควรเกิน 1 ช้อนชา ต่อวัน (โซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน)แต่แหล่งที่มาของรสเค็ม ก็ไม่ใช่แค่เกลืออย่างเดียว แต่ยังหมายถึงปริมาณโซเดียมที่แอบแฝงอยู่ในอาหารหลากหลายประเภท เช่น บรรดาเครื่องปรุงรส อาหารสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ หรือแม้แต่ผัก ธัญพืช และเนื้อสัตว์ก็มีโซเดียม อยู่ในตัวเอง ซึ่งหากเป็นคนติดรสเค็มแล้วอยากลองเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อลดโรค ควรงดการเติมเครื่องปรุง เพราะในเครื่องปรุงรสแทบทุกชนิดมีโซเดียมแฝงอยู่ค่อนข้างสูงอยู่แล้ว เลี่ยงอาหารสำเร็จรูป และอาหารแปรรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, อาหารสำเร็จรูป,​ ไส้กรอก, หมูยอ, แหนม, เบคอน, ผักดอง, ผลไม้ดอง, เครื่องจิ้มผลไม้, ปลาเค็ม, ไข่เค็ม, เต้าหู้ยี้ หรือขนมขบเคี้ยว เป็นต้น

☘️ มุมสาระน่ารู้ TardHealth info

ความรู้เพื่อสุขภาพ รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์ By TaradHealth

ข้อมูลเพิ่มเติม»