โรคเด็กเตี้ย..ภาวะซ่อนเร้นที่ต้องเฝ้าระวัง

โรคเด็กเตี้ย ภาวะซ่อนเร้นที่ต้องเฝ้าระวัง

เด็กเตี้ยเป็นภาวะ หรือ อาการแสดงที่ทำให้เห็นว่าเด็กคนนั้นตัวเล็กกว่าเพื่อนในวัยเดียวกันสาเหตุที่ทำให้ เด็กตัวเตี้ยมีหลายประการ ทั้งจากพันธุกรรมและจากโรคที่ซ่อนเร้นอยู่ หนึ่งในนั้นคือ ภาวะขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต

ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมใต้สมองหากต่อมใต้สมองไม่ผลิตฮอร์โมนเจริญเติบโตก็จะทำให้ระดับการเจริญเติบโตของเด็กต่ำกว่าที่ควรจะเป็น สาเหตุที่ทำให้ต่อมนี้ทำงานผิดปกติอาจเป็นพันธุกรรมบางอย่าง หรือ มีก้อนเนื้อ ไปกดทับ จึงทำให้ต่อมใต้สมองไม่สามารถทำงานได้

 

ความเตี้ยมักเกี่ยวข้องกับ 2 สาเหตุหลัก ได้แก่

  1. ภาวะเตี้ยที่ตรวจพบพยาธิสภาพ บางรายอาจมีเพียงสาเหตุเดียว แต่บางรายอาจมีหลายสาเหตุรวมกัน เนื่องจากการเจริญเติบโตของร่างกายเป็นผลรวมของปัจจัยต่างๆได้แก่ พันธุกรรม อาหาร ฮอร์โมนเจริญเติบโต สุขภาพกาย สุขภาพใจ และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ดังนั้นความผิดปกติหรือความไม่สมดุลของปัจจัยดังกล่าวจะทำให้การเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ตามศักยภาพของพันธุกรรม
  2. ภาวะเตี้ยที่ไม่ทราบสาเหตุหรือเตี้ยตามพันธุกรรม จะพบได้บ่อย 2 ชนิด คือ
  • ภาวะเป็นหนุ่มสาวช้าโดยที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดเชื่อว่าปัจจัยทางพันธุกรรมมีส่วนสำคัญ ในการกำหนดจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่ความเป็นหนุ่มสาว และมักจะมีประวัติครอบครัวว่าบิดาหรือมารดาเป็นหนุ่มสาวช้า กว่าปกติ หรือมารดามีประจำเดือนครั้งแรกช้า (อายุ 14-18 ปี) หรือบิดาเมื่อเป็นเด็กมักตัวเล็กกว่าเพื่อนๆ เริ่มโตเร็วเมื่อเรียนชั้นมัธยมปลาย และมีความสูงสุดท้ายปกติ
  • มีพ่อหรือแม่เตี้ย หรือหากเตี้ยทั้งพ่อและแม่ รวมทั้งปู่ย่าตายาย ก็จะชัดเจนมากขึ้นว่าเตี้ยจากพันธุกรรม แต่ทั้งนี้ผู้ปกครองควรสังเกตการเติบโตอย่างใกล้ชิด โดยดูจากสมุดสุขภาพประจำปีของเด็ก

เด็กที่มีภาวะขาดฮอร์โมนเติบโตจะเตี้ย แต่ไม่เตี้ยเหมือนเด็กขาดสารอาหาร เพราะเด็กที่กินไม่ดีมักจะผอมแห้ง ตัวเตี้ยแต่เด็กกลุ่มนี้จะตัวเตี้ยแล้วดูจ้ำม่ำเพราะพวกเขาได้รับอาหารที่ดีแต่ไม่ยอมโต และถ้าวินิจฉัยแล้วพบว่ามีก้อนเนื้อ หรือซีสต์ไปกดต่อมใต้สมองไว้ แพทย์ต้องผ่าตัดนำก้อนพวกนี้ออกแต่ถ้าไม่มีอะไรไปกดทับแต่เป็นเพราะการทำงานที่ ผิดปกติของต่อมใต้สมอง แพทย์จะให้ยาฮอร์โมนเจริญเติบโตสังเคราะห์ไปทดแทน

 

ดังนั้น พ่อแม่ควรสังเกตลูกในช่วงวัย เจริญเติบโตว่ามีความผิดปกติเรื่องความสูงหรือไม่ และควรพาลูกไปพบแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจร่างกาย หากมีความผิดปกติก็จะสามารถรักษาให้หายได้โดยไม่สายเกินไป

สินค้าแนะนำ

น้ำมันงาขี้ม้อน (Perilla Oil)

น้ำมันงาขี้ม้อน (Perilla Oil)

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 500 มิลลิกรัม/แคปซูล ประกอบด้วย กรดไลโนเลนิค/โอเมก้า3 (Linolenic Acid/Omega3) 31..

400 บาท

น้ำมันรวม 3 in 1 Tipple Oil (ทริปเปิ้ล ออย)

น้ำมันรวม 3 in 1 Tipple Oil (ทริปเปิ้ล ออย)

น้ำมันรวม ทริปเปิ้ล ออย (Tipple Oil) บรรจุ 30 แคปซูล เป็นสัดส่วนที่ลงตัว ระหว่างน้ำมัน 3 ..

350 บาท

น้ำมันงาดำ (Black Sesame oil)

น้ำมันงาดำ (Black Sesame oil)

น้ำมันงาดำ (Black Sesame oil) 30 แคปซูลงาดำ จะมีสรรพคุณในการต้านอนุมูลอิสระ เหมาะสำหรับช่วยป้องกันกา..

300 บาท

น้ำมันงาขาว (White Sesame oil)

น้ำมันงาขาว (White Sesame oil)

น้ำมันงาขาว(White Sesame oil)งาขาวเม็ดเล็กๆ แต่คุณประโยชน์ไม่เล็กเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าตามหลักโภชนาการ..

300 บาท