9 วิธีกินบุฟเฟ่ต์อย่างฉลาด

9 วิธีกินบุฟเฟ่ต์อย่างฉลาด 1. เลือกอาหารที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ           การเลือกว่าจะกินบุฟเฟ่ต์อะไรดี มักเป็นขั้นแรก ๆ ซึ่งทุกคนก็จะต้องถกเถียงกันเพื่อเลือกร้านให้บรรดากลุ่มคนที่จะกินด้วยกันทั้งหมดนั้นโอเคกับตัวเลือก และแน่นอนว่าถ้าคุณไม่อยากอ้วน ก็จะต้องดูว่าร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ที่เราจะเลือกเข้าไปทานนั้นดีต่อสุขภาพหรือเปล่า ควรเลือกร้านอาหารที่หลากหลายที่สามารถเลือกสั่งอาหารที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ และไม่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งอาหารที่เป็นมิตรในที่นี้หมายถึง อาหารเพื่อสุขภาพที่มีไขมันต่ำ เลี่ยงเมนูที่ปรุงด้วยวิธีการผัดหรือทอด  2. สลัด ตัวเลือกที่น่าคบ หากไปร้านอาหารที่มีเมนูสลัดแนะนำให้สั่งมาด้วยทุกครั้ง หรือตักสลัดมากินเป็นเมนูแรก เพราะใยอาหารจะช่วยให้รู้สึกอิ่มเร็ว และไม่อยากกินอาหารที่มีไขมันมาก ลองหยิบเอาผักผลไม้หลาย ๆ ชนิด มาผสมกันในจานสลัด เพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างสูงสุด ที่สำคัญควรเลือกน้ำสลัดที่เป็นน้ำมันมะกอก หรือน้ำมันคาโนล่า จะช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากสารอาหารที่รับประทานเข้าไปอย่างเต็มที่ เพราะมีวิตามิน A, D, E และ K ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ส่วนใครที่กังวลว่านั่นคือน้ำมันก็ไม่ต้องห่วง เพราะน้ำมันเหล่านี้ให้ไขมันดีกับร่างกาย ส่วนใครที่คิดว่ารสชาติมันจืดชืดเกินไปก็สามารถเหยาะน้ำส้มสายชูลงไปนิด ๆ เพื่อเสริมรสชาติได้เช่นกัน 3. ตักให้เป็น…เลือกที่ไร้ไขมัน ในบรรดาอาหารบุฟเฟ่ต์มักมีเนื้อสัตว์หลากชนิดให้เลือก แต่ตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการลดน้ำหนักก็คือ เนื้อสัตว์ไร้ไขมัน เช่น เนื้อปลา และเนื้อไก่ […]

6 อาหารไฟเบอร์สูง

6 อาหารที่มีไฟเบอร์สูง 1. ถั่วดำ ในหนึ่งถ้วยจะให้ไฟเบอร์กับโปรตีนมากถึง 15 กรัม สีที่เข้มของมันยังบ่งบอกว่า มีฟลาวานอยด์ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มากอีกด้วย 2. ข้าวกล้อง หากคุณกินแต่ข้าวขาวอย่างเดียว คุณอาจไม่คุ้นกับข้าวกล้อง แต่ลองกินดูเถอะ เพราะข้าวกล้องอาจมีใยอาหารสูงถึง 3.5 กรัม/ถ้วย นอกจากนี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดยังพบว่า การกินข้าวขาวนั้นอาจจะทำให้ความเสี่ยงเป็นเบาหวานประเภทสองสูงขึ้นถึง 17% แต่การกินข้าวกล้อง 2 หน่วยบริโภค/สัปดาห์ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้ 11% 3. ขนมปังโฮลวีต เพราะขนมปังสีขาวนั้นถูกขัดเอาจมูกและธัญพืชออกไปหมดแล้ว ทำให้ไม่เหลือสารอาหารกับไฟเบอร์ การเปลี่ยนจากขนมปังขาวเป็นขนมปังโฮลวีตทั้งหมดจะช่วยเรื่องปริมาณไฟเบอร์ในระยะยาวได้มากทีเดียว 4. บร็อกโคลี่ เป็นที่รู้จักกันดีเรื่องคุณสมบัติต้านโรคมะเร็ง บร็อกโคลี่มีไฟเบอร์อยู่มากมาย

4 STEP กินเจให้สุขภาพดี

เคล็ดลับกินเจอย่างไรให้สุขภาพดี 1. ต้องมั่นใจว่าได้สารอาหารครบ 5 หมู่ แม้ต้องละเว้นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ซึ่งให้โปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่เราสามารถกินโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง เต้าหู้ และโปรตีนเกษตร เพื่อเป็นการทดแทนได้ ซึ่งโปรตีนที่ได้จากถั่วมีปริมาณไขมันน้อยกว่า และร่างกายสามารถนำไปใช้ได้พอดี โดยไม่เหลือเป็นส่วนเกิน และยังมีกากใยช่วยทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ที่สำคัญไม่มีคอเลสเตอรอลเหมือนในเนื้อสัตว์ 2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแป้งหรือไขมัน อาหารเจส่วนใหญ่จะมีไขมันและคาร์โบไฮเดรตสูงมาก เนื่องจากใช้แป้งและน้ำมันในการประกอบอาหารกันเป็นหลัก อาจจะทำให้น้ำหนักขึ้นได้ ดังนั้นควรหันมาบริโภคอาหารประเภทยำ ต้ม หรือนึ่งให้มากขึ้น และลดอาหารประเภทผัดหรือทอด โดยอาจจะหันมากินอาหารไทยพวกน้ำพริกเจ กินคู่กับผักสด ผักพื้นบ้าน นอกจากจะมีประโยชน์แล้วยังไม่มีสารพิษเจือปน

เราควรทานผักให้ครบ 5 สี อย่างน้อยวันละ 5 กำมือ

ผักและไม้เป็นอาหารที่มีความจำเป็นต่อมนุษย์ การรับประทานผักที่ดีนั้นควรรับประทานให้ครบทั้ง 5 สี ได้แก่ สีแดง สีส้ม สีเขียว สีม่วง สีขาว เพราะสีแต่ละสีมีสารที่มีองค์ประกอบต่างกันและให้ประโยชน์ต่างกัน ผักสีแดง มีสารไลโคปีนสูง ช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดมะเร็งและโรคต่างๆ ผักผลไม้ที่มีสีส้ม ได้แก่ มะเขือเทศ แตงโม ผักสีส้ม มีสารเบต้าแครอทีนสูง ลดความเสื่อมของเซลล์ บำรุงผิว และต้านอนุมูลอิสระ ผักผลไม้ที่มีสีส้ม ได้แก่ แครอต ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน แคนตาลูป มะละกอสุก ผักสีเขียว มีสารคลอโรฟิลล์สูง บำรุงสาย บำรุงกระดูก ช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ผักผลไม้ที่มีสีเขียว ได้แก่ บร็อกโคลี่ ตำลึง คะน้า ผักสีม่วง มีสารแอนโทไซยานิน ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ยับยั้งการเกิดมะเร็ง ผักผลไม้ที่มีสีม่วง ได้แก่ กะหล่ำปลีม่วง มะเขือม่วง หอมแดง พรุน องุ่นแดง บลูเบอร์รี่ ผักสีขาว อัลลิซิน ซึ่งช่วยลดการอักเสบ ลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด ผักผลไม้ที่มีสีขาวได้แก่ กะหล่ำดอก ผักกาดหัว(หัวไช้เท้า) กระเทียม นอกจากทานผักผลไม้ให้ครบ 5 สีแล้ว […]