PALLIATIVE CARE การดูแลผู้ป่วยในโรคที่รักษาไม่หาย

PALLIATIVE CARE การดูแลผู้ป่วยในโรคที่รักษาไม่หาย

PALLIATIVE CARE การดูแลผู้ป่วยในโรคที่รักษาไม่หาย

Palliative Care ถ้าแปลตรงตัวจะมีความหมายว่า การดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาได้หายขาด เช่น โรคไต โรคเบาหวาน โรคความดัน หรือโรคมะเร็ง เป็นต้น รวมถึงทุกโรคที่ยังไม่มีวิธีรักษา และต้องคอยตรวจติดตาม อาการอยู่ตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคในขั้นสุดท้ายที่ไม่มีแผนการรักษาแล้ว จะยิ่งต้องการการดูแลแบบ Palliative Care มากๆ

 

เพราะเป็นการดูแลที่มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยสามารถอยู่กับความเจ็บปวดได้อย่างมีความสุขที่สุด และใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าจนวาระสุดท้าย

 

Palliative Care มีความหมายว่า การดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาได้หายขาด

Palliative Careมีความสําาคัญกับผู้ป่วยอย่างไร

1. ช่วยเยียวยาจิตใจให้ผู้ป่วย เพราะแพทย์เฉพาะทางทั่วไปมักจะมุ่งเน้นในการรักษาโรคอย่างเดียว ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรครักษาไม่หายขาดหรือร้ายแรงถึงแก่ชีวิตมักเกิดความรู้สึกบั่นทอนทางด้านอารมณ์และจิตใจ แต่การดูแลแบบ Palliative Care จึงหมายถึงการมีทีมแพทย์หลากหลายสาขาเข้ามาช่วยดูแลผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ

2. เติมเต็มการสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัว แพทย์บางคนมักจะไม่บอกการวินิจฉัยโรคกับผู้ป่วยตั้งแต่ต้น เพราะบางครั้งไม่รู้ว่าจะบอกอย่างไรดี รวมทั้งมีญาติขอร้องไว้ไม่ให้บอกผู้ป่วย ทั้งๆที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยากรู้ความจริง จากแพทย์ เรื่องจริงก็ คือ ผู้ป่วยไทยส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งเมื่อป่วยด้วยโรคมะเร็ง ทั้งที่จริงๆ แล้วการมีการสื่อสารที่ดีระหว่างแพทย์ ผู้ป่วย และครอบครัวจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวให้ได้ทําสิ่งที่ติดค้าง ได้สําเร็จในช่วงเวลาอันจํากัดและตั้งเป้าหมายการรักษาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยรายหนึ่งๆ ได้ การดูแลแบบ Palliative Care แพทย์จะมีโอกาสพูดคุยกับผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย

 

ผู้ป่วยที่เป็นโรคในขั้นสุดท้ายที่ไม่มีแผนการรักษาแล้ว จะยิ่งต้องการการดูแลแบบ Palliative Care มากๆ

3. ดูแลผู้ป่วยให้สุขสบายมากขึ้นจากอาการต่างๆ ด้วยการเยียวยาความทรมานจากอาการปวดและอาการอื่นๆ ของโรคระยะสุดท้ายโดยอาการปวดเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด และการใช้ยาแก้ปวดที่เพียงพอเป็นสิ่งจําเป็นในผู้ป่วย กลุ่มนี้ เพื่อช่วยลดความทุกข์ทรมานและเพิ่มคุณภาพชีวิตในการรักษาตัว นอกจากอาการปวดแล้วผู้ป่วยยังต้องการการ ดูแลอาการอื่นๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อยหอบ ซึมเศร้า เบื่ออาหาร รวมถึงอาการในระยะสุดท้ายก่อนที่ผู้ป่วย จะเสียชีวิต

4. เหมาะสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ไม่มีแผนการรักษา เช่น โรคมะเร็ง ผู้ป่วยระยะสุดท้ายมักจะไม่ได้ถูกรับตัว เข้านอนโรงพยาบาล แม้ว่าจะมีอาการทางร่างกายหลายอย่างก็ตาม เพราะแพทย์ส่วนใหญ่เห็นว่าไม่สามารถ รักษาโรคผู้ป่วยให้หายได้ การมานอนโรงพยาบาลอาจไม่ได้แตกต่างจากการรักษาที่บ้านในขณะที่ครอบครัว ของผู้ป่วยก็อาจเกิดความสับสน ไม่แน่ใจว่าจะดูแลผู้ป่วยอย่างไรดี จึงอยากพําผู้ป่วยมานอนโรงพยาบาล แต่ในทางตรงข้าม หากผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับการดูแลในหอผู้ป่วยหนัก (ICU) มักได้รับเสียงสะท้อนมาจากญาติว่า ผู้ป่วยถูกทรมานมากเกินไปในรูปแบบที่เรียกว่า ยื้อชีวิต เพราะแพทย์ไม่กล้าที่จะหยุดการรักษาบางอย่าง เช่น การฉีดยาปฏิชีวนะไปเรื่อยๆ การให้เลือด การใส่ท่อช่วยหายใจซึ่งอาจเป็นเพียงการยืดระยะเวลาการเสียชีวิต ออกไปมากกว่าการช่วยชีวิตให้ผู้ป่วยอยู่อย่างมีคุณภาพ

สินค้าแนะนำ

ถั่งเช่า คอร์ดี้ไทย (ม.เกษตรศาสตร์) สำหรับผู้ชาย

ถั่งเช่า คอร์ดี้ไทย (ม.เกษตรศาสตร์) สำหรับผู้ชาย

ถั่งเช่า คอร์ดี้ไทย (ม.เกษตรศาสตร์) สำหรับผู้ชาย บรรจุ 30 แคปซูลถั่งเช่าคืออะไร ถั่งเช่าได..

2,700 บาท

ถั่งเช่า คอร์ดี้ไทย (ม.เกษตรศาสตร์) สำหรับผู้หญิง

ถั่งเช่า คอร์ดี้ไทย (ม.เกษตรศาสตร์) สำหรับผู้หญิง

ถั่งเช่า คอร์ดี้ไทย (ม.เกษตรศาสตร์) สำหรับผู้หญิง บรรจุ 30 แคปซูลถั่งเช่าคืออะไร ถั่งเช่าได้รับการยก..

2,700 บาท

เลือดจระเข้ วินน์ Wynn 30 แคปซูล

เลือดจระเข้ วินน์ Wynn 30 แคปซูล

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เลือดจระเข้แคปซูล วินน์เลือดจระเข้อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน ธาตุเหล็กและแร่ธาตุต่..

500 บาท 600 บาท

เลือดจระเข้ วินน์ Wynn 100 แคปซูล

เลือดจระเข้ วินน์ Wynn 100 แคปซูล

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เลือดจระเข้แคปซูล วินน์ เลือดจระเข้อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน ธาตุเหล็กและแ..

1,500 บาท 2,000 บาท