เรื่องไก่ ไก่ กินแล้วเป็นเก๊าท์จริงเหรอ ?

 กินไก่_1040x1040

 

“กินไก่เยอะระวังเป็นเก๊าท์” คำพูดที่ได้ยินมาอย่างยาวนานและมักจะมีคนคิดว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆจนไม่กล้ากินไก่กัน หรือก็มีที่ว่ากินๆไปเถอะเป็นก็เป็น แต่นั่นแหละความเชื่อนี้จะเป็นจริงหรือไม่? กินไก่แล้วเป็นเก๊าท์ หรือเป็นเก๊าท์แล้วห้ามกินไก่กันแน่ ฉะนั้น แว่นใสเลยจะเอาคำตอบที่แท้จริงมาให้อ่านกันว่าไก่กับเก๊าท์จะเป็นของคู่กันหรือไม่

 

โรคเก๊าท์ รู้ไว้ก่อนก็ดีนะ

    เก๊าท์โรคข้ออักเสบเฉียบพลันที่เกิดจากร่างกายมีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติ ทำให้ร่างกายไม่สามารถขับกรดยูริกออกได้หมดจึงสะสมเป็นระยะเวลานานจนตกตะกอนในกระเพาะปัสสาวะ หรือไปเกาะอยู่ตามข้อต่อต่างๆโดยเฉพาะบริเวณเท้า และมือไปกดให้เนื้อเยื่อเกิดการอักเสบ และยังเกิดจากความผิดปกติของยีนส์ในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการย่อยโปรตีนด้วย ทำให้เกิดข้ออักเสบและบวม หรือที่เรียกว่า “โรคเก๊าท์” โดยกรดยูริกเป็นกรดที่ร่างกายสร้างขึ้นได้เองจากการสลายตัวของสาร “พิวรีน” ในตับ ซึ่งทั้งกรดยูริกและสารพิวรีนยังแอบแฝงอยู่ตามอาหารหลายชนิดด้วย

 

กรดยูริก สารตัวร้าย

    กรดยูริกเกิดจากการย่อยสลายของสารพิวรีนในร่างกาย โดยสารพิวรีนก็มาจากการย่อยโปรตีนในร่างกายเป็นเสมือนตัวแปรสำคัญที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเก๊าท์ที่ส่วนใหญ่ร่างกายจะสร้างขึ้นเอง และส่วนน้อยที่ได้รับจากอาหารไม่ถึง 20% และจะถูกขับออกทางไต มีส่วนน้อยที่จะถูกขับออกทางลำไส้ ซึ่งภาวะกรดยูริกสูงมักสัมพันธ์กับภาวะอ้วน พันธุกรรม ยาบางชนิด โรคความดันโลหิตสูง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และอาหารที่มีกรดยูริกสูง เป็นต้น 

 

กินไก่เป็นเก๊าท์จริงไหม?

    คงได้ยินกันบ่อยครั้งแน่กับคำที่ว่า... กินไก่เยอะระวังเป็นเก๊าท์นะ ซึ่งความเป็นจริงกินไก่เยอะจะเป็นเก๊าท์หรือไม่นั้น โดยสัตว์ปีกทุกชนิดที่รวมถึง “ไก่” ด้วยนั้นเป็นอาหารประเภทโปรตีนที่มีกรดยูริกไม่มากเท่าไร คนที่ไม่เป็นเก๊าท์จะกินไก่ได้เยอะแค่ไหนก็ไม่เป็นไร ซึ่งโรคเก๊าท์มักเกิดจากกรรมพันธุ์การกินไก่ในปริมาณมากจึงไม่สามารถทำให้เป็นเก๊าท์ได้ และไก่ไม่ใช่ตัวการที่จะทำให้เกิดโรคด้วย 

    แต่สำหรับคนที่เป็นเก๊าท์อยู่แล้ว ควรเลี่ยงการกินไก่หรือสัตว์ปีกจะดีกว่า แต่ก็ยังสามารถกินได้ในปริมาณที่เหมาะสมและเลือกไม่กินส่วนที่เป็นข้อต่อต่างๆ พร้อมทานยาตามแพทย์สั่ง อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ตลอดเพื่อไม่ให้อาการกำเริบเร็วยิ่งขึ้นมาได้

 

เก๊าท์มีอาการแบบไหน?

อาการของโรคมี 3 ระยะ คือ

  • ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน มักเกิดที่นิ้วเท้าหรือข้อเท้า ข้อจะปวด บวมแดง ถ้าไม่รักษาสามารถหายเองใน 5 - 7 วันและส่วนใหญ่จะกลับมาเป็นซ้ำๆอีก

  • ระยะไม่มีอาการ หลังจากที่ข้ออักเสบหายแล้วจะไม่มีอาการใดๆแสดงออกมา

  • ระยะเรื้อรัง หลังมีอาการซ้ำ 3 - 5 ปี ข้ออักเสบจะมีอาการมากขึ้นจนลามไปที่ข้ออื่นๆและเกิดก้อนจากผลึกของกรดยูริกโตขึ้นเรื่อยๆ

 

เก๊าท์กับอาหารที่มีกรดยูริกสูง

กรดยูริกและสารพิวรีนเป็นสารที่ทำให้เกิดเก๊าท์ได้และช่วยกระตุ้นให้เก๊าท์กำเริบได้ ฉะนั้น ควรเลี่ยงหรือทานอาหารที่มีกรดยูริกและพิวรีนในปริมาณที่เหมาะสม โดยอาหารที่ควรเลี่ยง เช่น 

  • เครื่องในสัตว์ต่างๆทั้ง ตับ ไต ปอด สมอง

  • อาหารทะเล / กะปิ

  • เหล้าและเบียร์ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด

  • อาหารที่มีไขมันสูง เช่น ขนมเค้ก ขนมปัง น้ำหวาน น้ำผลไม้รสหวาน

  • ถั่วต่างๆทั้งถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วดำ เป็นต้น

  • เห็ด หน่อไม้ฝรั่ง กระหล่ำดอก ถั่วงอก ชะอม แตงกวา สะตอ เป็นต้น

  • รวมถึงการใช้ยาแอสไพริน ยาขับปัสสาวะด้วย เพราะจะทำให้ไตขับกรดยูริกได้ไม่ดี

 

☘️ มุมสาระน่ารู้ TardHealth info

ความรู้เพื่อสุขภาพ รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์ By TaradHealth

ข้อมูลเพิ่มเติม»

เรื่องที่คุณอาจสนใจ