มะเร็งเต้านม โรคร้ายที่ป้องกันได้

 

โรคมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิง จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ 37 ของมะเร็งทั้งหมด และยังมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปอด ดังนั้นการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง และการค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในขณะที่ก้อนมีขนาดเล็ก และก้อนมะเร็งยังอยู่เฉพาะที่เต้านม ยังไม่แพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ จะมีโอกาสหายขาดมากขึ้น เมื่อเทียบกับการตรวจพบก้อน มะเร็งที่มีขนาดใหญ่ หรือกระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว โดยหากมีการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น มีโอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปีถึงร้อยละ 98 ถ้าตรวจเจอ ตอนก้อนมะเร็งกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว มีโอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปีร้อยละ 84 และถ้าตรวจเจอ ตอนมะเร็งแพร่กระจายไปแล้ว โอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปี มีเพียงร้อยละ 23 และยังไม่แพร่กระจายจะทำให้มีโอกาศรอดชีวิตสูง ก้อนขนาดเล็กก่อนที่จะรู้เรื่องมะเร็งท่านต้องทราบ

เต้านมของคนเราประกอบไปด้วยไขมัน เนื้อเยื่อ ต่อมน้ำนมนมประมาณ 15-20 กลีบ ภายใน กลีบประกอบด้วยกลีบย่อย และมีถุงติดอยู่กับท่อน้ำนมซึ่งจะเปิดยังหัวนมภายในเต้านมยังมีหลอดเลือด และน้ำเหลืองซึ่งจะไปรวมกันยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้

มะเร็งที่เกิดในท่อน้ำนมเรียกว่า ductal carcinoma เมื่อมะเร็งแพร่กระจายมักจะไปตามต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ และอาจจะไปยังกระดูก ตับ ปอด และยังไปตามหลอดเลือด

เต้านมคนเราเปลี่ยนแปลงตามอายุ และตามรอบประจำเดือน การที่เราหมั่นคลำเต้านมตัวเองจะทำให้เรารู้ลักษณะปกติของเต้านม เราสามารถพบการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่เต้านมตั้งแต่แรก

ลักษณะเต้านมในแต่ช่วงเวลาของรอบเดือนจะมีลักษณะไม่เหมือนกัน ช่วงก่อนมีรอบเดือนเต้านมจะตึงและคัดเมื่อคลำจะรู้สึกตึง คลำได้ต่อมน้ำนม แต่หลังจากประจำเดือนมาแล้วเต้านมจะนิ่มขึ้น

เต้านมในวัยทองจะเหลวนิ่ม เนื่องต่อมน้ำนมไม่ทำงาน

สำหรับท่านที่ตัดมดลูกโดยที่ไม่ได้ตัดรังไข่ เต้านมของท่านยังคงเหมือนเดิม

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค

1. การมีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อย

2. การไม่มีบุตรหรือคลอดลูกคนแรกอายุมาก

3. เคยเป็นมะเร็งเต้านมหรือเนื้องอกที่เต้านม

4. ประวัติญาติสายตรง(แม่ พี่ น้อง)เป็นมะเร็งเต้านม

5. มีการให้รังสีรักษาที่เต้านมหรือทรวงอก

6. ทำแมมโมแกรมแล้วพบความผิดปกติ

7. กินฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือโปรเจสเตอโรน

8. อ้วน

 

อาการที่ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

1. หากคุณรู้สึกว่ามีความปวดหรืออึกอัด

2. หากคุณคลำได้ก้อนที่เต้านมหรือใต้รักแร้

3. สังเกตการเปลี่ยนแปลงของหัวนมเช่น

4. มีน้ำที่ไม่ใช่น้ำนมไหลออกจากหัวนม

5. มีเลือดออก

6. หัวนมผิดตำแหน่งเช่นยุบลงไปหรือถูกดึงรั้งไปทางอื่น

7. ผื่นรอบหัวนม

 

สำหรับผู้ที่มะเร็งเป็นมากและมีการแพร่กระจายของมะเร็งจะมีอาการ

1. ปวดกระดูก

2. น้ำหนักลด

3. แผลที่ผิวหนัง

4. แขนบวม

 

การตรวจวินิจฉัย

วิธีการตรวจหามะเร็งเต้านมมีอะไรบ้าง การตรวจหามะเร็งเต้านมมีหลายวิธี ได้แก่

1. การตรวจเต้านมด้วย แมมโมแกรม ซึ่งจัดว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านมในผู้หญิงทั่วไป

2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือพยาบาล

3. การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง

 

การป้องกัน

สาเหตุของมะเร็งเต้านมยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่การปฎิบัติตัวที่ดีจะลดการเกิดมะเร็งเต้านม

1. เลือกรับประทานอาหารผักหรือผลไม้

2. ควบคุมน้ำหนักมิให้อ้วน

3. ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 5 วันวันละ 30 นาที

4. งดบุหรี่ และแอลกอฮอลล์

 

การบำบัดรักษา

1. การผ่าตัด (Surgery)

2. รังสีรักษา บำบัด (Radiation therapy)

3. ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)

4. ฮอร์โมน บำบัด (Hormonal therapy)

5. การรักษาแบบประคับประคอง (Palliative care)

ขอบคุณที่มา : https://www.bangkokhospital.com

 

สามารถสั่งซื้อหรือสอบข้อมูลเกี่ยวผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย เพื่อสุขภาพ
ได้ที่ www.taradhealth.com โทร 062-595-3399 , 085-688-7890
ID Line: @taradhealth
Facebook:
TaradHealth

☘️ มุมสาระน่ารู้ TardHealth info

ความรู้เพื่อสุขภาพ รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์ By TaradHealth

ข้อมูลเพิ่มเติม»

เรื่องที่คุณอาจสนใจ